วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

วิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับองค์การ


ทฤษฎีการบริหารจัดการของ Frederic W.Taylor


          เฟรอเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์ (ค.ศ.1856-1917) วิศวกร นักประดิษฐ์ และวิศวกรที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งอุทิศตนให้กับการจับเวลาในการงานสำหรับการเคลื่อนที่ของคนงาน และริเริ่มแนวคิดการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ จนได้รับการยอมรับเป็นบิดาของการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาแนวความคิดโดยการสังเกตการณ์อย่างละเอียดเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด (One best way) ในการทำงานแต่ละอย่างให้ประสบความสำเร็จ เมื่อสามารถค้นพบวิธีที่ดีที่สุดแล้ว เขาเชื่อว่าจะสามารถทำให้บุคลากรดำเนินการตามวิธีการที่ดีที่สุดนั้นได้ ภาระหน้าที่ของผู้บริหารจึงเป็นการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน จากนั้นใช้การนิเทศงาน การให้รางวัล หรือการลงโทษตามผลงานของบุคลากร


          เฟรดเดอริกมีความเชื่อว่า

- เราแทบจะไม่ค่อยพบว่าคนงานใช้เวลาการศึกษาการทำงานของเขาว่าพวกเขาทำงานได้ช้างเพียงใด และทำให้นายจ้างเชื่อว่าพวกเข้าทำงานในอัตราความเร็วที่ดีแล้ว ภายใต้กรอบความคิดนี้คนงานจะถูกสั่งให้ทำและใช้วิธีการทำงานตามคำสั่งเท่านั้น

- งานทุกอย่างมีลักษณะเหมือนกันหมด เป็นสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้ทีละขั้นตอน ในฐานะของชุดการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทักษะ และสามารถใช้กับงานใดๆ ก็ได้

- ฝ่ายบริหารจัดการมีหน้าที่การศึกษาธรรมชาติและคุณลักษณะการทำงานของคนงานแต่ละคนอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อหาข้อจำกัดของคนงานแต่ละคน รวมทั้งการหาศักยภาพของคนงานแต่ละคนด้วย


แนวความคิดของเฟรดเดอริกจึงเป็นความพยายามที่จะหาวิธีในการทำงานให้ดีที่สดโดยลดความเป็นมนุษย์ของคนงานลง จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของการผลิตจำนวนมากจนกลายเป็นยุครุ่งเรื่องของแนวความคิดเชิงอุตสาหการที่มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) เฉพาะตำแหน่ง และเน้นการใช้แรงงานอย่างมาก

กรณีศึกษาการจัดการคลินิกและโรงพยาบาล

เอกสารการทำกรณีศึกษาในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559
ให้นักศึกษาค้นคว้าจากเอกสารเพื่อวิพากษ์ในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยมีประเด็นดัง
1.สรุปสาระของกรณีศึกษา
2.กรณีศึกษาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอย่างไร
3.เราสามารถนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการคลินิกและโรงพยาบาลได้อย่างไร
พร้อมนำเสนอเป็นประเด็นสั้นๆ กลุ่มละ 5-10 นาที
นักศึกษาสามารถ Download เอกสารได้จาก

https://drive.google.com/a/rsu.ac.th/folderview?id=0B9IS2algZ69QZWctMmp1eVdZeGs&usp=sharing

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Jiro Dreams of Sushi

Jiro Dreams of Sushi
     ในชั้นใต้ดินของอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งใจกลางกรุงโตเกียว จิโระ ชายชราอายุ 85 ปี กำลังขะมักเขม้นกับการทำซูชิอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ภัตตาคารมีระดับของเขาชื่อ สุกิยาบาชิ จิโระ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และใครๆ ก็รู้จักเขาในนาม เจ้าแห่งซูชิ สุดยอดสารคดี Jiro Dreams of Sushi จะพาคุณไปสัมผัสโลกอันยิ่งใหญ่ ละเอียดอ่อนและเปี่ยมสุนทรียะของการทำอาหารชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่า ซูชิ แน่นอน จิโระ มาเพื่อจะบอกคุณว่าการทำซูชิไม่ใช่เพียงแค่การวางเนื้อลงบนข้าวปั้น หากแต่มันเป็นการปรุงอาหารที่เรียกร้องสมาธิ ความเชี่ยวชาญและศิลปะชั้นสูง
     นอกเหนือจากการเปิดโลกมหัศจรรย์ของซูชิให้ผู้ชมได้รับทราบ สารคดีเรื่องนี้ยังพูดถึงการเปลี่ยนผ่านมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น เมื่อจิโระคิดจะวางมือจากการทำร้านอาหารและปล่อยให้ลูกชายบริหารงาน รวมถึงเป็นพ่อครัวแทน ความกดดันทั้งหมดก็จะตกมาสู่ลูกชายที่ต้องวัดรอยเท้าพ่อให้ได้ มีสารคดีไม่กี่เรื่องที่จะทำให้คุณต้องอ้าปากค้างด้วยความอึ้ง ทึ่งและหิว และ Jiro Dreams of Sushi เป็นหนึ่งในนั้น

Assignment
1. กิจกรรมรายบุคคล (ส่งภายในวันที่ 11 ธันวาคม 2556)
- นักศึกษาได้เรียนรู้อะไร รู้สึกอย่างไรกับภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้
- นักศึกษาจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์เรื่องนี้มาใช้นการดูแลคนไข้ของนักศึกษาได้อย่างไร
- นักศึกษาจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์เรื่องนี้มาเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการคลินิกและโรงพยาบาลอย่างไร
2. กิจกรรมกลุ่ม (ส่งภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2556 และนำเสนอหน้าชั้นเรียนในวันที่ 18 ธันวาคม 2556)
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มตาม Cluster ในคลินิกรวม (Main clinic) สมมติแต่ละ Custer เป็นคลินิกทันตกรรม 1 แห่ง ร่วมกันวางแผนการควบคุม และการบริหารระบบคุณภาพการให้บริการทั่วทั้งองค์การ โดยใช้แนวทางการบริหารระบบคุณภาพตามแนวคิดของเดมมิ่ง (Demming's cycle of Quality Management) 

วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

DGD541-Dental Clinic and Hospital Management 1

คำอธิบายรายวิชา

หลักการเบื้องต้นในการบริหารงานคลินิกและโรงพยาบาล รูปแบบต่างๆ ในการบริหารจัดการ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการบริหาร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ประเมินต้นทุน กำไร และการลงทุน ตลอดจนการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายหลักในการบริหารงานเบื้องต้นในการวางแผน การจัดการองค์การ การนำองค์การ และการควบคุมองค์การบริการสุขภาพ ทั้งคลินิกและโรงพยาบาล มีความสามารถในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงาน สามารถวิเคราะห์ ประเมินต้นทุน กำไร และการลงทุน ตลอดจนใช้เครื่องมือในการตัดสินใจเพื่อการบริหารงานได้ 

โดยเมื่อจบกระบวนวิชานี้แล้วนักศึกษาสามารถ
  • อธิบายหลักในการบริหารงานเบื้องต้นเพื่อการบริหารงานคลินิกและโรงพยาบาลได้
  • สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานได้
  • สามารถวิเคราะห์ ประเมินต้นทุน กำไร และการลงทุน
  • สามารถวางแผนในการใช้เครื่องมือในการตัดสินใจเพื่อบริหารงานได้

กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้