วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

ทฤษฎีการบริหารจัดการของ Frederic W.Taylor


          เฟรอเดอริก วินสโลว์ เทย์เลอร์ (ค.ศ.1856-1917) วิศวกร นักประดิษฐ์ และวิศวกรที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งอุทิศตนให้กับการจับเวลาในการงานสำหรับการเคลื่อนที่ของคนงาน และริเริ่มแนวคิดการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ จนได้รับการยอมรับเป็นบิดาของการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาแนวความคิดโดยการสังเกตการณ์อย่างละเอียดเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด (One best way) ในการทำงานแต่ละอย่างให้ประสบความสำเร็จ เมื่อสามารถค้นพบวิธีที่ดีที่สุดแล้ว เขาเชื่อว่าจะสามารถทำให้บุคลากรดำเนินการตามวิธีการที่ดีที่สุดนั้นได้ ภาระหน้าที่ของผู้บริหารจึงเป็นการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน จากนั้นใช้การนิเทศงาน การให้รางวัล หรือการลงโทษตามผลงานของบุคลากร


          เฟรดเดอริกมีความเชื่อว่า

- เราแทบจะไม่ค่อยพบว่าคนงานใช้เวลาการศึกษาการทำงานของเขาว่าพวกเขาทำงานได้ช้างเพียงใด และทำให้นายจ้างเชื่อว่าพวกเข้าทำงานในอัตราความเร็วที่ดีแล้ว ภายใต้กรอบความคิดนี้คนงานจะถูกสั่งให้ทำและใช้วิธีการทำงานตามคำสั่งเท่านั้น

- งานทุกอย่างมีลักษณะเหมือนกันหมด เป็นสิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้ทีละขั้นตอน ในฐานะของชุดการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทักษะ และสามารถใช้กับงานใดๆ ก็ได้

- ฝ่ายบริหารจัดการมีหน้าที่การศึกษาธรรมชาติและคุณลักษณะการทำงานของคนงานแต่ละคนอย่างพินิจพิเคราะห์เพื่อหาข้อจำกัดของคนงานแต่ละคน รวมทั้งการหาศักยภาพของคนงานแต่ละคนด้วย


แนวความคิดของเฟรดเดอริกจึงเป็นความพยายามที่จะหาวิธีในการทำงานให้ดีที่สดโดยลดความเป็นมนุษย์ของคนงานลง จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของการผลิตจำนวนมากจนกลายเป็นยุครุ่งเรื่องของแนวความคิดเชิงอุตสาหการที่มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน (Specialization) เฉพาะตำแหน่ง และเน้นการใช้แรงงานอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น